โครงสร้างองค์กร


โครงสร้างสำนักงานฯ

โครงสร้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 
 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภา มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล
การบริหารงานบุคคลกลางมีองค์กรของตนเอง คือ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) ทำหน้าที่
กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุม ดูแลบุคลากรในสำนักงาน ซึ่งเรียกว่าข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกอบด้วย
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
 ข้าราชการรัฐสภาสามัญ มี ๔ ประเภท ประกอบด้วย ๑)ตำแหน่งประเภทบริหาร ๒)ตำแหน่งประเภท
อำนวยการ ๓)ตำแหน่งประเภทวิชาการ ๔)ตำแหน่งประเภททั่วไป โดยให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง
ในแต่ละประเภทตามกำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภา แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ.๒๕๕๔ ในส่วนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีเลขาธิการวุฒิสภาเป็น
ผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา โดยมีที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ
และรองเลขาธิการวุฒิสภาจำนวน ๖ คน เป็นผู้ช่วยกำกับดูแลการปฏิบัติราชการแทน อีกทั้งยังมีกลุ่มงาน
อิสระ ๓ กลุ่มงาน ปฏิบัติงานให้โดยตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา คือ กลุ่มงานที่ปรึกษา กลุ่มงานตรวจสอบ
ภายใน กลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๑๘ สำนัก มีหน้าที่
ครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา
 ส่วนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
โดยได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฏหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง โดย
มีตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
 (๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
 (๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
 (๓) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๔) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
 (๕) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๖) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
 (๗) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 (๘) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๙) โฆษกประธานวุฒิสภา
 (๑๐) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 (๑๑) เลขานุการประธานรัฐสภา
 (๑๒) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
 (๑๓) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๑๔) เลขานุการประธานวุฒิสภา
 (๑๕) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๑๖) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
 (๑๗) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 (๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
 (๑๙) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
 (๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๒๑) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
 (๒๒) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
 (๒๓) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
 (๒๔) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองดังกล่าวข้างต้น ประธานรัฐสภา ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผล ใน
ทางการเมือง และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๓๗ เว้นแต่ ข. (๑) และ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
รัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔